วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัด

เรื่อง ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์



1. อุปกรณ์รับเข้าหลักคืออะไร ?
       ก.  เมาส์
       ข.  บาร์โค๊ด
       ค.  สแกนเนอร์
       ง.   จอภาพ
    
2. อุปกรณ์แสดงผลหลักของคอมพิวเตอร์คือ ?
       ก.   ซีพียู
       ข.  ลำโพง
       ค.   จอภาพ
       ง.  ปริ้นเตอร์
3.อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดถือเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์คืออะไร ?
       ก.  แรม
       ข.  ซีพียู
       ค.  ฮาร์ดดิสก์
       ง.  เมนบอร์ด
4.  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นหน่วยความจำหลักคืออะไร? 
       ก.  ฮาร์ดดิสก์
       ข.  ซีดีรอม
       ค.  เฟลชไดร์ฟ
       ง.  แรม,รอม
5.เฟลชไดร์ฟเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในหน่วยใด ?
       ก.  หน่วยความจำ
       ข.  หน่วยรับเข้า
       ค.  ประมวลผล
       ง.  หน่วยแสดงผล

   



แบบฝึกหัด

เรื่อง ซอฟต์แวร์



1. ซอฟต์แวร์ คือ
ก. โปรแกรมชุดของคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ข. อุปกรณ์เทคโนโลยีระดับสูง
ค. โปรแกรมแก้ปัญหาทุกอย่างของมนุษย์
ง. อุปกรณ์ที่ทำหน้าเสมือนสมองกล

2. ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการ
ก. ระบบปฏิบัติการดอส
ข. ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์เวิร์ด
ค. ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์
ง. ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์

3. ชนิดของซอฟต์แวร์ (software) มีทั้งหมดกี่ชนิด
ก. มี 1 ชนิด 1.ซอฟต์แวร์ระบบ
ข. มี 2 ชนิด 1.ซอฟต์แวร์ระบบ 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ค. มี 3 ชนิด 1.ซอฟต์แวร์ระบบ 2.ซอฟต์แวร์ ประยุกต์ 3.ซอฟต์แวร์บุคคล
ง. มี 4 ชนิด 1.ซอฟต์แวร์ระบบ 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ 3.ซอฟต์แวร์บุคคล 4. ซอฟต์แวร์ บริหาร

4. ซอฟต์แวร์ประมวลคำ คือข้อใด
ก. word processing software
ข. spreadsheet software
ค. database management software
ง. presentation software

5. ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
ก. word processing software
ข. spreadsheet software
ค. database management software
ง. presentation software


แบบฝึกหัด

เรื่อง ซอฟต์แวร์หรือส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

1. ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
ก. word processing software
ข. spreadsheet software
ค. database management software
ง. presentation software

2. ซอฟต์แวร์นำเสนอ
ก. word processing software
ข. spreadsheet software
ค. database management software
ง. presentation software

3. ซอฟต์แวร์สื่อสาร
ก. word processing software
ข. spreadsheet software
ค. database management software
ง. communication software

1. ข้อใดคือองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
ก. ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์
ข. แชร์แวร์   พีเพิลแวร์
ค. ฮาร์ดแวร์   แชร์แวร์
ง. คอสแวร์   ซอฟต์แวร์

2. อุปกรณ์ใดเป็นหน่วยแสดงผล
ก. จอมอนิเตอร์
ข. เครื่องพิมพ์
ค. เมาส์
ง. ลำโพง



































วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557


ชนิดของซอฟต์แวร์ (Software)

1.ซอฟต์แวร์ระบบ (system software)

   คือ ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ  
คือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความ

หมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูล

ในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง

  1.1ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็น
    1. ระบบปฏิบัติการ
    2. และตัวแปลภาษา
    ตัวอย่างซอฟต์แวร์ระบบ

            
    (1). ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)


    ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่าโอเอส (Operating System : OS)

        เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบ
    ปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู 
    (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)

           1) ดอส (DOS : Disk operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตออกมาพร้อมกับเครื่องพีซี 
       

          2) วินโดวส์ (WINDOWS) เป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาถึงรุ่น Windows 2000 แล้ว 

      

            3) วินโดวส์เอ็นที (Windows NT) เป็นระบบ OS ที่ผลิตจากบริษัทไมโครซอฟต์เช่นเดียวกัน เป็นระบบ 32 บิต มีรูปลักษณ์  เป็นกราฟิกที่ต้องใช้เมาส์กล้ายกับวินโดวส์ทั่วไป แต่นิยมใช้ในระบบเวิร์กสเตชันมากกว่าในเครื่องพีซีทั่ว ไป
     


           4) โอเอสทู (OS/2) เป็นระบบ OS ที่ผลิตออกมาจากบริษัท IBM เป็นระบบ 32 บิต ที่มีรูปลักษณ์เป็นกราฟฟิกที่ต้องใช้เมาส์  
    คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไปเช่นกัน



           5) ยูนิกซ์ (UNIX) เป็นระบบ OS ที่สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคน (Multiuser) หรือเป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย โดยที่
    ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีชื่อและพาสเวิร์ดส่วนตัว และสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก โดยผ่านทางสายโทรศัพท์และมี Modem เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลหรือโอนย้ายข้อมูล



    1. window 7



    (2). ตัวแปลภาษา (Translation Program)

    ตัวแปลภาษาTranslation Program คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาที่ไม่ใช่ ภาษาเครื่อง หรือภาษาเครื่องที่ไม่เข้าใจให้เป็นภาษาที่เครื่องสามารถรู้เรื่องเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ เช่น ภาษา BASIC ,COBOL,C, PASCAL, FORTRAN, ASSEMBLY เป็นต้น

      1)ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง เขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้ 


            2)ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้ 


            3)ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ



             4)ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก




    2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)

         เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

    โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งาน

    คอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่ม

    คือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จใน


    ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์

     1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ(word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ 

        2)ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์
    ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณ


        3)ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล 
    และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่
    เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล 


         4)ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูด
    ความสนใจซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก


         5)ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้
    ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่ง




    2.Microsoft Word

























    วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

    ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
     เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่ในสำนักงานในบ้านนั้นเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ 




    ไมโครคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้



    1.   คส (Case) คือ  ส่วนที่บรรจุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น แผงวงจนหลัก ฮาร์ดิสก์ หน่วยความจำ 

    หน่วประ มวลผล เคสมีทั้งแบบแนวนอนและแนวตั้งภายในเคส( case) ประกอบด้วย

                 2 Central Processing Unit - CPU :: ซีพียู คือสมองของคอมพิวเตอร์ นำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่

    ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และประมวลผลข้อมูล ซีพียูเป็นส่วนประกอบหลักในการเลือกซื้อ

    คอมพิวเตอร์ สำหรับซีพียูที่ใช้ในปัจจุบันคือ Intel, AMD







       3 การ์ดจอ VGA Card :: การ์ดแสดงผล เป็นการ์ดขยายที่ทำหน้าที่แปลงคำสั่งที่ได้จาก CPU ในรูปแบบที่

    จอภาพเข้าใจ









         4 แรม (RAM)แรม (RAM)  หน่วยความจำ หรือ แรม (RAM : Read Access Memory) เป็นพื้นที่ที่ใช้ใน

    การประมวลผล ข้อมูลชั่วคราว เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่มีการประมวลผลจะหายไปทันที



         5 ดิสก์ไดรฟ์ (Disk Drive) หรือ Floppy Drive 

    หน่วยขับดิสก์ หรือดิสก์ไดรฟ์ (Disk Drive) เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์ มี

    ขนาด 3.5 นิ้ว

                
     6 Power Supply  คือ หม้อแปลงไฟฟ้า ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าบ้านมาเป็นไฟฟ้าที่ใช้ใน

    เครื่องคอมพิวเตอร์



           7  แป้นพิมพ์ (Keyboard)   แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้า

    สู่เครื่องคอมพิวเตอร์





         8     เมาส์ (Mouse) เมาส์  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ชี้ส่วนต่าง ๆ บนจอภาพ และเรียกโปรแกรมโดยการใช้เมาส์คลิก 

    ที่สัญรูปหรือไอคอน (Icon) ที่เป็นตัวแทนของโปรแกรมที่ต้องการ



                9     จอภาพ (Monitor)  จอภาพ หรือมอนิเตอร์ ทำหน้าที่แสดงอักษร ข้อความและรูปภาพที่สร้าง
    จากการ์ดแสดงผล ขนาดของจอภาพ วัดจาก ความยาวเส้นทแยงมุมของจอภาพ ขนาดมาตราฐานของจอภาพขั้นต่ำในปัจจุบันคือ 17 นิ้ว สำหรับหน่วยที่ใช้วัด เรียกว่า ดอตพิตช์ (Dot Pitch) ยิ่งมีขนาดเล็กจะมีความคมชัดสูง สำหรับขนาดดอตพิตช์ มาตราฐานไม่ควรมากกว่า 0.28 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีจอภาพที่กำลัง เป็นที่สนใจมากคือ จอแบน (LCD) ซึ่งกินพื้นที่ในการติดตั้งน้อยมาก แต่ราคาปัจจุบันค่อนข้างถูกลงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพ CRT




    10 เมนบอร์ด (Mainboard) คือ ศุนย์กลางของการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีชิปเซตที่ำทำหน้าที่รับ/ส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ อีกขั้นหนึ่ง เมนบร์ด (Mainboard)นิยมใช้มาตรฐานการออกแบบ ATX (Advance Technology Extension) ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น 





      11.   ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) คือ พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลหลัก

    ของคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลและโปรแกรม ภายในจะมีข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ

     บรรจุอยู่ฮาร์ดดิสก์ตัวแรกจะถูกกำหนดเป็น "ไดร์ฟ C" เสมอ